ตราสารอนุพันธ์ คือ สัญญาทางการเงินระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป ที่ตกลงกันเพื่อจะซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิง (underlying assets) กันในปัจจุบัน ฯลฯ แต่จะทำการส่งมอบและชำระราคากันในอนาคต โดยจะมีการระบุประเภทของสินค้า จำนวน และเวลาที่จะส่งมอบกันไว้ด้วย ตัวอย่างตราสารอนุพันธ์ เช่น ดัชนีราคาหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาข้าว ราคายางพารา ราคาน้ำมัน ราคาทองหรือดัชนีราคาหุ้น
[su_highlight background=”#fffb99″]เราสามารถสรุปลักษณะทั่วไปของสัญญาซื้อขายอนุพันธ์ได้ดังนี้[/su_highlight]
- เป็นสัญญาที่มีการตกลงกันในวันนี้ เพื่อมีภาระผูกพันซื้อขายกันในวันหน้า
- เป็น Zero-Sum-Game ซึ่งก็คือ ถ้าคนหนึ่งได้กำไร อีกคนหนึ่งก็จะขาดทุน ในจำนวนเงินที่เท่ากัน
- เป็นสัญญาที่มีสินค้าอ้างอิง เช่น สินค้าเกษตร อัตราแลกเปลี่ยน โลหะ พลังงาน
- เป็นสัญญาที่มี Leverage คือ การลงทุนโดยใช้วิธียืมเงินผู้อื่นหรือใช้เทคนิค เช่น futures, options มาช่วย ทำให้ได้ผลตอบแทนมากกว่าปกติ เช่น เพิ่มเป็น 10 เท่าตัว (ซึ่งในกรณีที่ขาดทุนก็จะขาดทุนมากกว่าปกติเช่นกัน)
- เป็นสัญญาที่มีกำหนดเวลาชัดเจน เช่น เช่น 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน หรือ 1 ปี
- ช่วยให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการลงทุน โดยการใช้อนุพันธ์ในการบริหารความเสี่ยง ที่เป็นมาตรฐานทำให้ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีสภาพคล่องสูง และมีการรับประกันความเสี่ยงของคู่สัญญาโดยสำนักหักบัญชี(TCH)
- ผู้ลงทุนสามารถกำหนดราคาซื้อขายในอนาคตได้ โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนหรือซื้อสินค้าทันที
- การขายล่วงหน้า ทำให้ผู้ลงทุนสามารถกำหนดราคาซื้อขายในอนาคตได้ โดยไม่จำเป็นต้องถือครองทรัพย์สินในขณะนั้น
- ป้องกันการบิดพลิ้วของคู่สัญญา โดยกลไกการป้องกันความเสี่ยงจากบริษัทสำนักหักบัญชีที่เป็นคู่สัญญา นอกจากนี้มีการกำหนดให้มีหลักประกันในการซื้อขาย และมีการชำระราคาทุกวัน
- อนุพันธ์เป็นแหล่งสะท้อนข้อมูล เนื่องจากราคาในอนุพันธ์เป็นข้อมูลที่สะท้อนถึงการคาดการณ์ ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับราคาของสินค้าอ้างอิงในอนาคต ทำให้ผู้ลงทุนในสินค้าอ้างอิงสามารถกำหนด กลยุทธ์และการวางแผนที่มีประสิทธิภาพได้
ตลาดอนุพันธ์สามารถเป็นได้ทั้งในรูปแบบของตลาดหลักทรัพย์ ( exchange traded market ) และ ตลาดต่อรอง ( over-the-counter ) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. ตลาดหลักทรัพย์ ( exchange traded market ) เป็นตลาดที่มีรูปแบบการซื้อขายเป็นมาตรฐาน มีการกำหนดมาตรฐานของสินค้าที่จะซื้อขายในตลาด และมีรูปแบบการทำธุรกรรมที่กำหนดไว้ชัดเจนจากหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งตลาดอนุพันธ์ในรูปแบบนี้มี ตลาดซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ส ( futures exchange ) และตลาดออปชัน ( options exchange ) โดยตราสารอนุพันธ์ที่ซื้อขายในตลาดนี้ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ส ( futures ) และออปชัน ( option )
2. ตลาดต่อรอง ( over-the -counter หรือ OTC ) เป็นตลาดที่ประกอบด้วยผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งสามารถซื้อขายได้โดยไม่ต้องมีตลาดที่เป็นทางการมารองรับ และไม่มีรูปแบบการซื้อขายที่แน่นอน
ปัจจุบันสินค้าในตลาดตราสารอนุพันธ์ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมี SET50 Index Futures เป็นตราสารอนุพันธ์ตัวแรกที่เปิดให้มีการซื้อขายกันได้ และตามมาด้วย SET50 Index Options และคาดว่าในอนาคตประเภทของตราสารอนุพันธ์ในตลาดบ้านเราจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
ผลตอบแทนของตราสารอนุพันธ์
ตลาดอนุพันธ์ให้ผลตอบแทนสูงสุดในบรรดาของการลงทุนประเภทอื่นๆทั้งหมด แต่ก็เสี่ยงสูงที่สุดเช่นกัน