ตราสารอนุพันธ์คืออะไร

ตราสารอนุพันธ์คืออะไร
ตราสารอนุพันธ์คืออะไร

ตราสารอนุพันธ์ คือ สัญญาทางการเงินระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป ที่ตกลงกันเพื่อจะซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิง (underlying assets) กันในปัจจุบัน  ฯลฯ  แต่จะทำการส่งมอบและชำระราคากันในอนาคต โดยจะมีการระบุประเภทของสินค้า จำนวน และเวลาที่จะส่งมอบกันไว้ด้วย ตัวอย่างตราสารอนุพันธ์ เช่น ดัชนีราคาหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาข้าว ราคายางพารา ราคาน้ำมัน ราคาทองหรือดัชนีราคาหุ้น 

[su_highlight background=”#fffb99″]เราสามารถสรุปลักษณะทั่วไปของสัญญาซื้อขายอนุพันธ์ได้ดังนี้[/su_highlight]
 

  1. เป็นสัญญาที่มีการตกลงกันในวันนี้ เพื่อมีภาระผูกพันซื้อขายกันในวันหน้า
  2. เป็น Zero-Sum-Game ซึ่งก็คือ ถ้าคนหนึ่งได้กำไร อีกคนหนึ่งก็จะขาดทุน ในจำนวนเงินที่เท่ากัน
  3. เป็นสัญญาที่มีสินค้าอ้างอิง เช่น สินค้าเกษตร อัตราแลกเปลี่ยน โลหะ พลังงาน 
  4. เป็นสัญญาที่มี Leverage คือ การลงทุนโดยใช้วิธียืมเงินผู้อื่นหรือใช้เทคนิค เช่น futures, options มาช่วย ทำให้ได้ผลตอบแทนมากกว่าปกติ เช่น เพิ่มเป็น 10 เท่าตัว (ซึ่งในกรณีที่ขาดทุนก็จะขาดทุนมากกว่าปกติเช่นกัน)
  5. เป็นสัญญาที่มีกำหนดเวลาชัดเจน เช่น เช่น 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน หรือ 1 ปี

 

ประโยชน์ของตราสารอนุพันธ์
  1. ช่วยให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการลงทุน โดยการใช้อนุพันธ์ในการบริหารความเสี่ยง ที่เป็นมาตรฐานทำให้ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีสภาพคล่องสูง และมีการรับประกันความเสี่ยงของคู่สัญญาโดยสำนักหักบัญชี(TCH)
  2. ผู้ลงทุนสามารถกำหนดราคาซื้อขายในอนาคตได้ โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนหรือซื้อสินค้าทันที
  3. การขายล่วงหน้า ทำให้ผู้ลงทุนสามารถกำหนดราคาซื้อขายในอนาคตได้ โดยไม่จำเป็นต้องถือครองทรัพย์สินในขณะนั้น
  4. ป้องกันการบิดพลิ้วของคู่สัญญา โดยกลไกการป้องกันความเสี่ยงจากบริษัทสำนักหักบัญชีที่เป็นคู่สัญญา นอกจากนี้มีการกำหนดให้มีหลักประกันในการซื้อขาย และมีการชำระราคาทุกวัน
  5. อนุพันธ์เป็นแหล่งสะท้อนข้อมูล เนื่องจากราคาในอนุพันธ์เป็นข้อมูลที่สะท้อนถึงการคาดการณ์ ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับราคาของสินค้าอ้างอิงในอนาคต ทำให้ผู้ลงทุนในสินค้าอ้างอิงสามารถกำหนด กลยุทธ์และการวางแผนที่มีประสิทธิภาพได้
ประเภทของตราสารอนุพันธ์

 
ตลาดอนุพันธ์สามารถเป็นได้ทั้งในรูปแบบของตลาดหลักทรัพย์ ( exchange traded market ) และ ตลาดต่อรอง ( over-the-counter ) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. ตลาดหลักทรัพย์ ( exchange traded market ) เป็นตลาดที่มีรูปแบบการซื้อขายเป็นมาตรฐาน มีการกำหนดมาตรฐานของสินค้าที่จะซื้อขายในตลาด และมีรูปแบบการทำธุรกรรมที่กำหนดไว้ชัดเจนจากหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งตลาดอนุพันธ์ในรูปแบบนี้มี ตลาดซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ส ( futures exchange ) และตลาดออปชัน ( options exchange ) โดยตราสารอนุพันธ์ที่ซื้อขายในตลาดนี้ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ส ( futures ) และออปชัน ( option )

2. ตลาดต่อรอง ( over-the -counter หรือ OTC ) เป็นตลาดที่ประกอบด้วยผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งสามารถซื้อขายได้โดยไม่ต้องมีตลาดที่เป็นทางการมารองรับ และไม่มีรูปแบบการซื้อขายที่แน่นอน

ปัจจุบันสินค้าในตลาดตราสารอนุพันธ์ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมี SET50 Index Futures เป็นตราสารอนุพันธ์ตัวแรกที่เปิดให้มีการซื้อขายกันได้ และตามมาด้วย SET50 Index Options และคาดว่าในอนาคตประเภทของตราสารอนุพันธ์ในตลาดบ้านเราจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

ผลตอบแทนของตราสารอนุพันธ์

ตลาดอนุพันธ์ให้ผลตอบแทนสูงสุดในบรรดาของการลงทุนประเภทอื่นๆทั้งหมด แต่ก็เสี่ยงสูงที่สุดเช่นกัน 

วัตถุประสงค์หลักของการออกตราสารอนุพันธ์นี้ขึ้นมาก็เพื่อให้คุณใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนให้อยู่ในระดับที่คุณสามารถยอมรับได้ อย่างไรก็ดี คุณควรนึกอยู่เสมอว่าการลงทุนในตราสารอนุพันธ์นั้นถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงมาก ดังนั้น คุณควรจะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของตราสารอนุพันธ์เป็นอย่างดีเสียก่อน