วิธีเลือกซื้อโปรเจคเตอร์ (projector)

วิธีเลือกซื้อโปรเจคเตอร์ (projector)

ซื้อ Projector (โปรเจคเตอร์)ในหน่วยงานราชการและบริษัทต่างๆ จะขาดเสียไม่ได้เลย หรือแม้กระทั่งการใช้เพื่อเพิ่มความบันเทิงภายในบ้านให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าราคาของ Projector จะลดลงจากสมัยก่อนค่อนข้างมากแล้วแต่ก็ยังอยู่ในระดับที่การเลือกซื้อ Projector (โปรเจคเตอร์) มาใช้งานสักเครื่องควรพิจารณาถึงคุณภาพในการใช้งานและความคุ้มค่าของราคาให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจ

ในการเลือกซื้อ Projector (โปรเจคเตอร์) นั้นก็ต้องถามก่อนว่าจะนำ Projector ไปใช้ในงานประเภทไหน เช่น ใช้ในการ presentation งานตามสถานที่ต่างๆ , ใช้ติดตั้งถาวรในห้องประชุม , นำมาฉายภาพยนตร์ภายในบ้าน หรือการใช้งานในประเภทอื่นๆ ต่อไปนี้จะเป็นรายละเอียดต่างๆ ที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อ Projector
 
ก่อนที่ท่านจะทำการจะเลือกซื้อโปรเจคเตอร์สักเครื่องหนึ่ง เรามาทำการศึกษาคำศัพท์ที่อยู่ในโบรชัวร์ของโปรเจคเตอร์กันก่อนดีกว่าว่า ความหมายของคำแต่ละตัวคืออะไรบ้าง จะอธิบายแบบง่าย ๆ เพื่อความเข้าใจนะครับ

ความสว่าง (Brightness)
(ANSI LUMENS) เป็นมาตรฐานที่ใช้วัดความสว่างของโปรเจคเตอร์ครับ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากลในการวัดค่าความสว่างของโปรเจคเตอร์ ANSI ย่อมาจาก American National Standard ส่วนคำว่า LUMEN เป็นการวัด flux หรือ ว่ามีพลังงานแสงออกมาจากแหล่งกำเนิดนั้น ๆ เท่าไหร่ ในเวลาหนึ่ง ๆ

แล้วเราควรจะเลือกความสว่างเท่าไหร่ดีล่ะ?
1. จำนวนคนในห้อง เพราะว่ายิ่งจำนวนคนในห้องมาก ภาพที่จะฉายก็จะต้องใหญ่ขึ้นตามไปด้วย พอภาพใหญ่ขึ้น ความสว่างของภาพจะลดลงตามไปด้วยเนื่องจากแสงจะกระจายไปตามระยะที่ฉายภาพครับ

2. ความสว่างของห้อง ถ้าห้องที่ฉายมืด เราก็จะไม่ต้องกังวลถึงความสว่างของโปรเจคเตอร์มากนัก เพราะถ้ากลัวจะสว่างไปโปรเจคเตอร์ในท้องตลาดตอนนี้สามารถที่จะปรับลดความสว่างของตัวมันเองได้อยู่แล้วซึ่งจะทำให้ประหยัดพลังงานและยืดอายุการใช้งานของโปรเจคเตอร์ได้ แต่ถ้าห้องที่มีแสงเข้ามามาก ท่านอาจจะต้องคำนึงถึงความสว่างของโปรเจคเตอร์เพราะถึงแม้ว่า โปรเจคเตอร์ในปัจจุบันจะสามารถ ปรับค่าความสว่างได้ แต่ถ้าท่านปรับค่าความสว่างของโปรเจคเตอร์ให้สูงสุดตลอดเวลานั่นอาจหมายความถึง อายุการใช้งานของโปรเจคเตอร์ก็จะสั่นลงตามไปด้วยเพราะฉะนั้นในกรณีที่ห้องมีแสงสว่างจ้าอยู่ตลอดเวลาท่านอาจจะต้องเลือกซื้อโปรเจคเตอร์ที่มีความสว่างสูงขึ้น

3. ชนิดของจอรับภาพ จอรับภาพจะมีผลอย่างมากกับความสว่างและคุณภาพของภาพที่จะแสดงออกมาเพราะว่า จอรับภาพที่ดีจะทำให้ภาพสว่างและนุ่มนวลดูแล้วสบายตา ในกรณีที่ไม่มีจอรับภาพอาจจะทำให้ภาพที่ฉายสว่างไปหรือแสบตา

4. การนำไปใช้ เช่น ท่านใช้เพื่อการประชุม การเรียนการสอน ท่านอาจจะต้องการความสว่างที่ชัดเจน เพื่อเนื้อหาและรายละเอียดในการนำเสนอภาพจะได้ไม่ผิดพลาด ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการใน

5. ระดับความสว่างของโปรเจคเตอร์ที่เหมาะสม

  • ความสว่างน้อยกว่า 1000 Ansi Lumens : เป็นความสว่างซึ่งถือว่าน้อยในปัจจุบันนี้สำหรับเทคโนโลยีโปรเจคเตอร์ ซึ่งก็เหมาะสำหรับการฉายภาพในห้องที่มืดหรือมีแสงเล็กน้อย
  • ความสว่าง 1000 – 2000 Ansi Lumens : เป็นความสว่างซึ่งอยู่ในระดับ ปานกลาง เหมาะสำหรับ ห้องประชุม,ห้องเรียนขนาดเล็กที่แสงสว่างไม่มากนัก การฉายภาพควรจะใช้ในห้องที่มีแสงสว่างรบกวนเพียงเล็กน้อย
  • ความสว่าง 2000 – 3000 Ansi Lumens : เป็นความสว่างซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับห้องประชุม,ห้องเรียนที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ความสว่างระดับนี้สามารถที่จะฉายได้ในระยะที่ไกลขึ้นภาพที่ใหญ่ขึ้นและทำ การแสดงภาพยังคงชัดเจน
  • ความสว่างมากกว่า 3000 Ansi Lumens : เป็นความสว่างซึ่งในระดับสูง เหมาะสำหรับ หอประชุม, ห้องบรรยาย หรือห้องที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นราคาของโปรเจคเตอร์ในความสว่างระดับนี้ก็แพงขึ้นตามไปด้วย

ความละเอียด ( Resolution )
ความละเอียดของการแสดงภาพซึ่งเป็นจุดเล็ก ๆ นับพันมารวมกันแล้วแสดงออกมาเป็นภาพ มีหน่วยเรียกเป็น pixel คำว่า pixel มาจากคำสองคำครับ “pix” คือ picture และ “el” คือ element นำมารวมกัน ซึ่งสำหรับโปรเจคเตอร์นั้นก็คือค่าที่โปรเจคเตอร์แต่ละรุ่นจะแสดงภาพออกมาได้ซึ่งแบ่งออกได้ตามนี้ครับ

1. SVGA (SUPER VGA) = “800 x 600” เป็นความละเอียดที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากเมื่อก่อนจาก VGA, CGA, EGA ซึ่งค่าตัวเลขที่ระบุคือ จำนวน พิกเซลที่โปรเจคเตอร์จะแสดงผลออกมาได้สูงสุด นั้น 800 x 600 พิกเซล เพราะฉะนั้นภาพที่จะแสดงให้เห็นได้จะมีความละเอียดสูงสุด 480,000 พิกเซล เหมาะสำหรับการแสดงผลในห้องขนาดกลาง

2. XGA (Extended Graphic Array ) = “1,024 x 768” เป็นขบวนการปรับภาพแบบขยาย ซึ่งค่าตัวเลขที่ระบุคือ จำนวนพิกเซลของโปรเจคเตอร์ที่จะสามารถแสดงผลความละเอียดได้สูงสุด 786,000 พิกเซล เหมาะสำหรับการแสดงผลกับโน๊ตบุ๊ค หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ ห้องขนาดกลาง ไปถึง ค่อนข้างใหญ่

3. SXGA (Super Extended Graphic Array) = “1,280 x 1,024” เป็นความละเอียดที่สูงของโปรเจคเตอร์ ซึ่งจะสามารถแสดงผลความละเอียดได้สูงสุด 1,311,000 พิกเซล เหมาะสำหรับการแสดงภาพในห้องที่มีขนาดใหญ่หรืองานนำเสนอที่ต้องการความละเอียดค่อนข้างสูง

4. UXGA (Ultra Extended Graphic Array) = “1,600 x 1,200” เป็นความละเอียดที่ดีเยี่ยมของโปรเจคเตอร์ในปัจจุบันซึ่งสามารถแสดงผลความละเอียดได้สูงสุด 1,920,000 พิกเซล เหมาะสำหรับ การแสดงภาพในห้องโถง หรือ ห้องบรรยายที่มีขนาดใหญ่มาก

แล้วความละเอียดขนาดไหนถึงจะเหมาะสม? 
ถ้าคุณต้องการใช้งานแค่ นำเสนองาน power point หรือ แผนภูมิ กราฟ หรือนำเสนองานทั่วไป คุณก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ความละเอียดในระดับที่สูงมากความละเอียดระดับ SVGA ก็น่าจะใช้งานได้อย่างสบาย ๆ
ถ้าคุณต้องการใช้งานจำพวก แสดงตารางเล็ก ๆ หรือ จำนวนตัวเลข ตัวอักษร เยอะ ๆ หรืองานภาพที่ต้องการความละเอียดที่ชัดเจนมากขึ้น หรือ ภาพเล็ก ๆ หลาย ๆ ภาพ ความละเอียดระดับ XGA ก็น่าจะเอาอยู่แล้ว

ถ้าคุณต้องการใช้งานจำพวก การวาดภาพแบบที่ต้องความละเอียดสูง หรือแสดงภาพทางเทคนิคที่ต้องการความละเอียดแบบสูงมาก หรือดูหนัง คุณก็น่าจะต้องใช้ ความละเอียดระดับ SXGA

อย่างไรก็ตามถ้าท่านต้องการที่จะเลือกซื้อโปรเจคเตอร์ไปใช้กับโน๊ตบุ๊คหรือคอมพิวเตอร์ ควรที่จะเลือกความละเอียดของโปรเจคเตอร์ ให้เหมาะสมกับความละเอียดของคอมพิวเตอร์ท่านด้วย เพื่อความประหยัดและได้คุณภาพที่เหมาะสม

VGA หรือ SVGA หรือ XGA ดีครับ สำหรับดูหนังอย่างเดียว?
ในส่วนของ VGA นั้นคุณภาพไม่เพียงพอที่จะดูหนังครับ โดยในส่วนของการดูหนังนั้นจะใช้ระดับความละเอียด SVGA ถึงจะพอครับแต่หากคุณเอมีงบประมาณเพียงพอในระดับ XGA ก็จะได้ภาพที่มีคุณภาพที่ดีขึ้นอีกระดับหนึ่งแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับหนังว่าที่เอานั้นคุณภาพเป็นอย่างไรด้วยครับ

ถ้านำไปดูหนังจาก UBC หรือ VCD ความละเอียดระดับ SVGA ก็จะพอแล้วน่ะครับ (นฤเทพ นิลฉวี)

Aspect ratio
คือ อัตราส่วนของความกว้างและความสูงของภาพ

4:3 ภาพจะมีความกว้าง 4 ส่วน สูง 3 ส่วน มีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า (projector.co.th)
16:9 ภาพจะมีความกว้าง 16 ส่วน ยาว 9 ส่วน หรือที่เรียกว่า Windscreen 

พิจารณาด้วยว่า Projector ที่กำลังจะซื้อนั้นสามารถแสดงผลในอัตราส่วนใดได้บ้าง อัตราส่วน 4:3 จะเหมาะสมกับการนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ อัตราส่วน 16:9 (Wild Screen) จะเหมาะสมกับการนำไปใช้แบบ Home Theatre ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก โปรเจคเตอร์ในปัจจุบันจะสามารถปรับอัตราส่วนของภาพได้โดยการเข้าไปตั้งค่าภายใน แต่บางรุ่นก็ไม่สามารถปรับได้ เพราะฉะนั้นต้องดูว่าโปรเจคเตอร์ที่ท่านจะซื้อสามารถปรับอัตราส่วนภาพได้หรือไม่

ขนาดของภาพและระยะในการแสดงผล (Picture sides & Throw Distance)
ภาพที่ได้จาก Projector แต่ละตัวจะมีขนาดที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่าง Projector กับ Screen และ Lens ที่ใช้ เช่น Projector ตัวหนึ่งสามารถฉายภาพที่มีขนาดเท่ากับ 30 – 300 นิ้วที่ระยะทาง 1 – 9 เมตร Projector ตัวนี้ฉายภาพได้ขนาด 30 นิ้วที่ระยะทางใกล้ที่สุดคือ 1 เมตร และจะได้ภาพขนาด 300 นิ้วที่ระยะทาง 9 เมตร ถ้านอกเหนือจากนี้จากระยะดังกล่าวจะไม่สามารถปรับ Focus เพื่อความชัดเจนได้ จะเห็นได้ว่าขนาดของภาพขึ้นอยู่กับระยะทางของ Projector กับ Screen แต่ถ้าในกรณีที่มีพื้นที่จำกัด Zoom Lens จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
 
ค่า Contrast
Contrast ratio อัตราส่วนความแตกต่างของแสงระหว่างพื้นที่สีขาวกับพื้นที่สีดำที่ Projector สามารถแสดงได้ มีวิธีการวัดอยู่สองแบบ 1) Full On/Off Contrast วัดอัตราส่วนแสงจากพื้นที่ที่มีสีขาวที่สุด (full on) และพื้นที่ที่ดำที่สุด (full off) ของภาพ , 2) ANSI Contrast โดยฉายภาพขาวดำจำนวนสิบหกภาพ แล้วจึงวัดหาค่าเฉลี่ยแสงของพื้นสีขาวและพื้นสีดำ ค่า Contrast ยิ่งมากจะทำให้ได้ภาพที่มีความคมชัดเจนในทุกรายละเอียด และยังทำให้เห็นถึงมิติของภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย ในการเลือกซื้อควรใช้มาตรฐานการวัด Contrast ชนิดเดียวกันในการเปรียบเทียบ Projector ที่มีค่า Contrast ยิ่งมากยิ่งดี

Projector Technology (LCD, DLP, LCOS)
ระบบกลไกที่ Projector ใช้ในกระบวนการ Process เพื่อทำให้เกิดเป็นภาพให้เราได้เห็นกันนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะต้องศึกษาทำความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง Projector แต่ละตัวจะใช้ Technology ในการผลิตที่แตกต่างกันไปในแต่ละ Brand Technology ที่แตกต่างกันก็จะให้คุณภาพในการแสดงผลที่แตกต่างกัน
ณ ปัจจุบันนี้ Projector ถูกผลิตออกมาวางจำหน่ายด้วย Technology ดังนี้

1. LCD Technology

Technology ชนิดนี้จะเป็นการใช้แผ่น LCD สามแผ่นในการสร้างภาพ แสงจะถูกแยกออกเป็นสามสี เขียว แดง น้ำเงิน เพื่อส่งไปยังแผ่น LCD และจะถูกรวมโดย Prism ส่งต่อไปยัง lens ฉายเป็นภาพออกมา
 
เนื่องจากระบบ LCD เป็นระบบที่ติดตั้งถาวร ไม่มีการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนใดเลย ภาพที่ปรากฏออกมาจึงมีความสดใส สว่าง และสามารถแสดงสีได้อย่างสมจริงเป็นธรรมชาติ

2. DLP Technology

DLP (Digital Light Processing) เป็นกระบวนการสร้างภาพในระบบ Digital โดยจะใช้ Chip ที่เรียกว่า DMD (Digital Micromirror Device) Chip  ระบบ DLP สามารถสร้างโทนสีเทาได้ถึง 1024 โทนและสร้างสีได้ถึง 16.7 ล้านสีขึ้นไปจนถึง 35 ล้านสีในระบบสาม chip ระบบ DLP มีทั้งที่ใช้ chip เดียวและสาม chip การเพิ่มจำนวน chip ทำให้ประสิทธิภาพในการแสดงผลที่ดีขึ้น ระบบที่ใช้สาม chip นี้มีราคาสูงเราจึงพบว่า Projector ในท้องตลาดส่วนใหญ่จะใช้ระบบ chip เดียว


Projector ที่ถูกผลิตด้วยระบบ DLP นี้จะให้ภาพที่คมชัด มีค่า contrast ที่สูง มีน้ำหนักเบาและมีอายุการใช้งานได้นาน

3. LCOS Technology

LCOS (Liquit Cristal On Silicon) ได้ถูกผลิตขึ้นโดยใช้แนวคิดในการการผสมผสาน Technology ของ LCD กับระบบ Chip ที่ใช้ใน DLP โดยเราจะได้ข้อดีจากทั้งสองระบบทำให้ได้ภาพที่มีความคมชัด มีสีที่สมจริง มีค่า contrast สูง
 
ปัจจุบันได้มีการผลิต Projector ที่ใช้ Technology LCOS ออกมาบ้างแล้ว แต่มีราคาสูงมาก

 

แล้วจะโปรเจคเตอร์เทคโนโลยีไหนดี?

แต่ละเทคโนโลยีก็จะมีข้อดีและข้อด้อยต่างกันไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าจะยอมรับจุดไหนได้มากกว่ากันในการเลือกซื้อโปรเจคเตอร์ครับ 

เทคโนโลยีโปรเจคเตอร์แบบ LCD 
ข้อดี มีความสดและความคมชัดของสี และความสว่างของแสงที่ชัดเจน กว่า DLP 
มีความสว่างของแสงมากกว่าในขณะที่ กำลัง watt เท่ากัน 
ข้อด้อย ระดับความเข้มของสีดำ และ Contrast Ratio ยังไม่มากนัก 

เทคโนโลยีโปรเจคเตอร์แบบ DLP 
ข้อดี มีน้ำหนักเบากว่าในขนาดความสว่างที่เท่ากันกับ LCD Contrast Ratio & Black level ที่ดีกว่า 
ข้อด้อย มีปัญหาประกายรุ้ง ( Rainbow Effect ) ในบางรุ่น 

ระบบการเชื่อมต่อ (Conectivity)
Ports หรือช่องที่ใช้ในการรับส่งสัญญาณภาพและเสียงระหว่างอุปกรณ์ตั้งแต่สองตัวขึ้นไป เราจะพบ ports ต่างๆ อยู่ทางด้านหลังของตัว Projector จะต้องมีการนำเอาสายสัญญาณมาเชื่อมต่อเข้ากับ ports เสียก่อน Projector จึงจะสามารถรับสัญญาณแล้จึงส่งออกมาเป็นภาพได้ 

VGA, Mini D-Sub 15 Pin ช่องสัญญาณภาพ Computer
 
Component Video, RGB ช่องสัญญาณภาพให้ความคมชัดสูงกว่าช่อง video และ S-Video
 
S-Video ช่องสัญญาณภาพให้ความคมชัดสูงกว่าช่อง Video
 
Composite Video ช่องสีเหลืองคือสัญญาณภาพ (video), ช่องแดงและขาวคือสัญญาณเสียง (audio)
 
DVI (Digital Video Interface) ช่องสัญญาณเฉพาะระบบ digital
 
Scart ( เป็น port สำหรับสัญญาณดาวเทียมระบบ digital สามารถใช้ในการแปลงสัญญาณไปสู่ระบบ Composite หรือ S-Video)

 

เหล่านี้เป็น ports มาตรฐานที่ Projector เครื่องหนึ่งๆ ควรจะมี ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตด้วยว่าจะใส่ ports อะไรบ้างมาใน Projector ตัวนั้น ในจำนวนนี้ DVI และ Component เป็น ports ที่ให้คุณภาพสูงที่สุด
ที่กล่าวมาแล้วเป็นระบบที่เชื่อมต่อโดยการใช้สาย (Cables) แต่ปัจจุบันได้มีการผลิต projector ที่มีระบบwireless ออกมาวางจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ข้อดีของมันคือไม่ต้องต่อสายให้ยุ่งยากเกะกะ ไม่มีการสูญเสียของสัญญาณเนื่องจากสายที่ยาวเกินไป สะดวกในการเคลื่อนย้าย (ข้อมูลจาก projector.co.th)

หลอดภาพ (Lamp life) 

หลอดภาพนับเป็นส่วนสำคัญยิ่งสำหรับโปรเจคเตอร์ และราคายังสูงอยู่ ดังนั้นก่อนที่จะซื้อโปรเจคเตอร์จึงควรที่จะดูว่า โปรเจคเตอร์รุ่นนั้น รับประกันหลอดภาพกี่ชั่วโมง กี่เดือน โดยปกติส่วนใหญ่แล้วจะรับประกันหลอดภาพ 2000 ชั่วโมง หรือ 6 เดือน อย่างไรก็ตามโปรเจคเตอร์รุ่นใหม่ในปัจจุบันจะยืดอายุการใช้งานของหลอดภาพออกไปได้ถึง 6000 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าและการนำไปใช้งานที่เหมาะสม เนื่องจากราคาหลอดภาพที่ยังราคาสูงอยู่ ก่อนที่ท่านจะตัดสินเลือกจะขอแนะนำว่าให้ท่านเลือกโปรเจคเตอร์ที่มีความสว่างและความละเอียดสูง ไว้ก่อน และถ้าท่านจะใช้งานถ้าแสงจากโปรเจคเตอร์จ้าเกินไปก็สามารถที่ปรับลดความสว่างของหลอดภาพได้ ทั้งยังสามารถที่จะยืดอายุหลอดภาพโปรเจคเตอร์ของท่านได้อีกด้วย 

เคล็ดลับการเลือกซื้อ projector 
1. หลอดไฟโปรเจคเตอร์ อายุการใช้งานของหลอดโปรเจคเตอร์ทั่วไปมากกว่า 2000ชั่วโมงขึ้นไป ถ้าอายุการใช้งานน้อยกว่านี้ต้องมีราคาที่ไม่แพง 
2. ถ้าเลือกโปรเจคเตอร์ที่ค่าความสว่างมากๆก็มักจะมีอายุการใช้งานสั้นกว่า 
3. วิธีการถนอมให้อายุการใช้งานโปรเจคเตอร์นานขึ้น คือ อย่าเปิดปิดโปรเจคเตอร์บ่อยๆ ถ้าหยุดใช้เครื่องไม่เกินครึ่งชั่วโมงไม่ควรปิดเครื่อง
4. หลอดไฟสำรองของรุ่น/ยี่ห้อนั้นควรหาซื้อได้ง่าย ถ้าให้ดีควรซื้อหลอดไฟสำรองไว้ตลอดเผื่อฉุกเฉินจะได้มีแปลี่ยนตลอดเวลา
5. Projector เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูง หากเกิดการชำรุดหรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ขึ้นมา คงจะเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร เพราะฉะนั้นควรสอบถามเรื่องระยะเวลารับการประกันชิ้นส่วนต่างๆ ของ Projector และหลอดภาพ รวมถึงศูนย์บริการในกรณีที่เกิดมีปัญหากับ Projector ขึ้นมา
6. ในกรณีที่ต้องมีการเคลื่อนย้าย Projector บ่อยๆ ก็ควรเลือก Projector ที่มีน้ำหนักเบาเข้าไว้ เดี๋ยวนี้ Projector ขนาดเล็กมีน้ำหนักเพียง 0.9 กิโลกรัมเท่านั้น

ที่มา: 
we projector
alleducare.com
ณัฐวุฒิ ชัยมงคล

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

Leave a Reply