ไวรัสซิกา คืออะไร? อาการ การรักษา และการป้องกันไวรัสซิกาในไทย

ไวรัสซิกา อาการ

ไวรัสซิกา อาการ

ไวรัสซิกา คืออะไร? เชื้อไวรัสซิกา (Zika fever) มียุงเป็นนำพาหะ  โรคนี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างโรคไข้เลือดออก  และไม่น่ากลัวสำหรับผู้ใหญ่ แต่มีผลกระทบกับทารก คือทำให้ทารกมีศีรษะเล็ก พิการทางสมองแต่กำเนิด ถ้าจะเปรียบซิกาก็เหมือนโรคหัดเยอรมันที่ไม่ได้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ทำให้เด็กพิการ องค์การอนามัยโลก ประกาศให้การระบาดไวรัสซิกาเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศเทียบชั้นอีโบลา และทางสาธารณสุขไทย ประกาศว่า ไวรัสซิกา เป็นโรคติดต่อ ที่ต้องแจ้งความ

การติดต่อ

ไวรัสซิกา สามารถติดต่อจากสาเหตุต่อไปนี้

  • ผ่านทางเพศสัมพันธ์
  • ถ่ายทอดผ่านทางน้ำนมและสายรก
  • ยุง

ไวรัสซิก้า อาการ

  • เมื่อรับเชื้อเข้าไปจะมีระยะฟักตัว 2-7 วัน โดยช่วง 2-5 วันแรก จะอาการคล้ายไข้เลือดออก มีไข้ ผื่นขึ้นตามตัว มีอาการปวด คล้ายไข้เลือดออกและโรคที่นำโดยยุง
  • ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการให้เห็น และ อาจแพร่เชื้อไวรัสให้อีกคนโดยไม่รู้ตัว ซึ่งแม้ว่าเชื้อไวรัสชนิดนี้จะไม่อันตรายต่อคนทั่วไป แต่จะส่งผลกระทบต่อเด็กแรกเกิดโดยตรง หากแม่เด็กได้รับเชื้อไวรัสขณะตั้งครรภ์ จะทำให้เด็กเล็กมีภาวะศีรษะมีขนาดเล็กกว่าปกติและมีความผิดปกติด้านพัฒนาการทางสมอง
  • หญิงตั้งครรภ์หากมีอาการไข้ ผื่นขึ้น ตาแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ต้องรีบพบแพทย์ เพื่อทำการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อ

การรักษาไวรัสซิกา

  • ไวรัสซิการักษาโดยการพักผ่อน และการรักษาจะรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาการเจ็บป่วย
  • หากอาการไม่ได้รุนแรงมาก ปกติจะหายเองได้ภายใน 7 วัน

การป้องกันไวรัสซิกา

  • ไม่สามารถใช้ยาหรือวัคซีนป้องกันได้
  • ควรใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้นเมื่อต้องเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดหรือประเทศที่ได้รับผลกระทบ กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา หรือ ประเทศในแถบแคริบเบียน โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่ระบาด 14 ประเทศ ได้แก่ บราซิล โคลอมเบีย เอลซัลวาดอร์ เฟรนช์เกียนา กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส มาร์ตีนิก เม็กซิโก ปานามา ปารากวัย ซูรินาเม เวเนซุเอลา และเครือรัฐเปอร์โตริโก
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำและยุง สวมเสื้อผ้ามิดชิด ใช้ยาทาป้องกันยุง และนอนในมุ้ง เพื่อป้องกันการถูกยุงกัด

 

องค์การอนามัยโลกออกประกาศเตือนว่า เชื้อไวรัสซิกา อาจลุกลามไปถึงทวีปแอฟริกาและเอเชียในเร็วๆนี้ ไวรัสซิกาในไทย ผลการศึกษาวิจัยของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ประเทศไทย มีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคนี้เมื่อถูกยุงลายกัด เพราะ ยุงลายที่มีเชื้อซิกาในประเทศไทย ยังถือว่ามีปริมาณน้อย