อย่าคิดว่าถ้าไม่ได้ทำงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจแล้วไม่มั่นคง คนที่ทำอาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์ก็ทำให้การเงินมั่นคงได้ไม่ยาก เพียงแต่เราต้องรู้จักวางแผนชีวิต จัดสรรเงินที่เราหามาได้ให้ดี
ตรวจสอบค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน แล้วหักเก็บไว้ตามความสำคัญไว้เป็นส่วนๆ ตามลำดับ โดยกันรายได้ไว้สำหรับรายจ่ายคงที่ก่อน แล้วนำไปออมหรือลงทุน ที่เหลือค่อยนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ดังนี้
1. ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนคงที่
- รายจ่ายคงที่ เช่น ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เบี้ยประกันรายเดือน ค่าอินเตอร์เน็ต
- ค่าผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ไม่ควรเกิน 50% ของรายได้ ถ้าเกินกว่านี้จะไม่มีเงินเหลือพอออม พอใช้อย่างอื่น ไม่ควรซื้อของแพงเกินตัว
- ค่าเทอมลูก ค่าเรียนพิเศษ อย่าทุ่มเทให้ลูกจนเกินกำลัง เหลือเก็บให้ตัวเองบ้าง จะได้ไม่เป็นภาระแก่ลูกภายหลัง หัดให้เด็กเรียนรู้เองบ้าง หัดให้รู้จักออมเงิน/บริหารเงินหรือหาเงินเล็กๆไว้ใช้เอง
- ต้องวางแผนงบประมาณ จดรายจ่าย และทบทวนทุกเดือน เพื่อดูว่าเราใช้จ่ายอะไรไปบ้าง ควรลดตรงไหนได้บ้าง อะไรที่จำเป็น อะไรที่ไม่จำเป็น ชวนคนในครอบครัวคุยกันเรื่องเงินแบบเปิดเผยให้เป็นปกติ การช่วยกันตัดสินใจร่วมกันในเรื่องใหญ่ๆ คุยกันบนพื้นฐานความเข้าใจ ด้วยความรัก จะได้ไม่มีเรื่องให้ต้องสงสัยแล้วมาทะเลาะกันทีหลัง
2. สำรองเงินไว้ใช้ฉุกเฉิน
- เงินออมก้อนแรกที่ควรจะมีใน
ชีวิต คือ เงินที่ออมไว้ใช้จ่าย หากเกิดเรื่องที่ไม่คาดคิด เช่น เจ็บป่วย ตกงาน ซ่อมรถ ต้องการซื้อของใช้ด่วน - ควรเก็บสำรองไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์จะได้ถอนมาใช้ง่ายและทันเวลา อย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน เช่น รายจ่ายเดือนละ 10,000 ก็ควรเก็บไว้ 60,000 บาท
3. ออม/ลงทุน
เอาเงินไปลงทุนสำหรับความมั่งคั่งและเกษียณ โดยเลือกวิธีที่เหมาะสมกับเรามากที่สุด
- ทำประกันชีวิตและสุขภาพ หรือ วางแผนใช้สวัสดิการประกัน
สุขภาพถ้วนหน้า สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม หรือซื้อประกันสุขภาพของเอกชนเองให้ตนเองและคนในครอบครัว เมื่อมีคนเจ็บไข้ได้ป่วยจะได้ช่วยค่ารักษาพยาบาลตรงนี้ได้ โดยเฉพาะพ่อแม่ทีแก่เฒ่า - กองทุนการออมแห่งชาติ
- ลงทุนกระจายความเสี่ยงน้อย
จากข้อมูลทั้งหมด ก็พอจะสรุปได้ว่า
- จะลงทุนหรือออมอะไร ต้องได้ผลตอบแทนอย่างน้อยประมาณ 2.37% ต่อปีไว้ก่อน ถ้าหลงไปทำอะไรที่ได้ผลตอบแทนต่ำกว่านี้ เท่ากับ ยิ่งนานยิ่งเสื่อมค่า เมื่อเทียบกับกำลังซื้อของเราจริง ๆ ที่มีตัวแปรคืออัตราเงินเฟ้อ (ความจริงลงทุนในอะไร ถ้า adjust ด้วยเงินเฟ้อแล้วมันก็ให้ผลตอบแทนต่ำลงทั้งสิ้น แต่ถ้าลงทุนต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ inflation-adjusted yield มันจะติดลบ)
- ถ้าหวังผลตอบแทนระดับ 6% – 10% ต่อปี ต้องพิจารณาลงทุนในกองทุนรวมอสังสหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดหรือที่ดิน หรือไม่ก็ไปหุ้นปันผล
- แต่ถ้าหวังสูงจริงจังคือผลตอบแทนระดับ 15% ต่อปีขึ้นไปในระยะยาว ก็ต้องลงทุนในหุ้น หรือถ้าจะให้มีการกระจายความเสี่ยง ก็ต้องเป็นกองทุนหุ้น
การลงทุนมีความเสี่ยงเป็นเงาตามตัวอยู่เสมอ แต่การไม่กล้ารับความเสี่ยงอย่างเพียงพอ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนในระยะยาวในอัตราที่สูงพอ เท่ากับว่าเรา “ปิดประตู” การไปถึงเป้าหมายของเราแล้วอย่างสิ้นเชิง เช่นคิดมาแล้วว่าต้องได้ผลตอบแทนอย่างต่ำ 10% ต่อปี แต่ไม่มีความรู้ หรือมีความรู้แต่ไม่กล้า เลยมีแต่กองทุนรวมตลาดเงินหรือตราสารหนี้เต็มไปหมด แบบนี้แม้จะเกษียณแล้วก็ไปไม่ถึงไหน
กลายเป็นว่า “กลัวจนระยะสั้น จนอดรวยระยะยาว”
-
- เอาไปซื้อสลากออมสิน 500,000 บาทเพื่อให้ถูกทุกงวด จะได้ดอกเบี้ยอย่างน้อย 1.12% (2560) ต่อปีไม่เสียภาษี (ไม่รวมเงินรางวัลที่ได้ลุ้นแต่ละเดือนเพิ่มอีกต่างหาก)
- เอาไปซื้อสลาก ธกส. ซื้อ 500,000 บาทเพื่อให้ถูกทุกงวด จะได้ดอกเบี้ยอย่างน้อย 1.38% ต่อปีไม่เสียภาษี (ดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับปีที่ธนาคารออกสลาก) เป็นการลงทุนแบบเสี่ยงน้อยมาก ไม่เสียภาษี (ไม่รวมเงินรางวัลที่ได้ลุ้นแต่ละเดือนเพิ่มอีกต่างหาก)
-
- กองทุนตราสารหนี้ระยะยาว ผลตอบแทน 3-5% ต่อปี
- ฝากประจำ 24เดือน/36เดือน ดอกเบี้ย 1%-2.5% ต่อปี
- กองทุนรวม (หากเกิดเหตุที่ต้องใช้เงินด่วนๆ ออมทรัพย์สามารถถอนเงินแล้วได้เงินทันที ไม่มีเงื่อนไขใดๆ ถอนได้ทุกวัน ไม่มีวันหยุด .. แต่กองทุนรวมจะขายได้แค่วันทำการเท่านั้น วันหยุดจะขายไม่ได้ เมื่อขายแล้วเงินก็จะไม่เข้าบัญชีทันทีอีกต่างหาก ซื้อ ขายได้ 8:30-15:30 ต้องรอ 2-4 วันทำการกว่าเงินจะเข้าบัญชี ถ้าโชคร้ายติดช่วงวันหยุดยาวก็ต้องรอกันยาวเลย)
- ถ้าอยากได้ผลประโยชน์ทางภาษี ลงทุน LTF / RMF
- ซื้อบ้านหรือที่ดินแล้วปล่อยเช่าหรือขาย
- เก็บออมผ่าน LTF/RMF/ออมหุ้น ลงทุนแบบต่อเนื่องทุกๆเดือน (DCA) https://www.finnomena.com/mr-messenger/rmf-for-long-term-retirement/
- https://www.set.or.th/education/th/begin/mutualfund_content09.pdf
- ซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์ระยะเวลาสั้น ๆ 2-3 ปี
- ออมเงินบำนาญผ่านบริษัทประกัน ผลตอบแทนประมาณ 3%-5%
- ดอกเบี้ยเเงินฝาก เมื่อเราเกษียณอายุ ปกติคนส่วนใหญ่จะมีเงินสด 1 ก้อน และเป็นเงินสดก้อนสุดท้ายของชีวิต เพราะฉะนั้นต้องเลือก ฝากธนาคาร หรือ พันธบัตรรัฐบาล ที่มีความเสี่ยงต่ำ แล้ว ได้รับ ดอกเบี้ยสม่ำเสมอ เป็นประจำทุกปี
3. รายจ่ายผันแปร
รายจ่ายที่ไม่กำหนดตัวเลขได้ตายตัว เลือกซื้อของเฉพาะที่จำเป็นและมีประโยชน์ ดูว่าควรลดอะไรที่ไม่จำเป็นและไม่มีประโยชน์ตรงไหนได้บ้าง กำหนดงบประมาณไม่ให้เกินในแต่ละเดือน เช่น
-
-
- ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน
-
- ค่าอาหารการกิน น้ำ ขนม
-
- อาหารเสริม ยา
- เครื่องสำอางค์
-
- ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต
-
- ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน
- ของใช้ส่วนตัว และภายในบ้าน
- เลี้ยงดูบุพการี ลูกหลาน
-