วิธีการจัดงานเลี้ยง รูปแบบงานเลี้ยง

วิธีการจัดงานเลี้ยง
วิธีการจัดงานเลี้ยง


การจัดงานเลี้ยง มักจะจัดในโอกาสพิเศษเสมอ เพื่อเฉลิมฉลองยินดีเนื่องในโอกาสต่างๆ เช่น งานเลี้ยงค็อกเทล งานเลี้ยงรุ่น งานเลี้ยงแต่งงาน งานเลี้ยงปีใหม่บริษัท งานเลี้ยงเกษียณ เป็นต้น

รูปแบบงานเลี้ยง

การจัดงานเลี้ยงรูปแบบต่างๆ ที่นิยมจัดกันในปัจจุบันมีอยู่ 3 แบบ คือ

1. ค็อกเทล

เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย มีทั้งการจัดในอาคาร และในพื้นที่โล่งกลางแจ้ง รวมทั้งริมสระน้ำ ที่ไม่เป็น พิธีการ มากนัก งานเลี้ยงแบบค๊อกเทลเน้นบริการเครื่องดื่มแบบทั้งมีแอลกอฮอล์ และไม่มีแอลกอฮอล์ โดยจะจัด บริการอาหาร ประเภทอาหารว่าง อาหาร ทานเล่นเบา ๆ อย่างฟิงเกอร์ฟู๊ด รวมถึงอาหารเรียกน้ำย่อยไว้ให้แขกที่ร่วมงาน เดินเลือกหยิบ รับประทานตามใจชอบ เหมาะสำหรับ การจัดเลี้ยงแขกจำนวนมาก

2. บุฟเฟ่ต์

รูปแบบนี้อาหารจะจัดวางมาในถาดตั้งไว้บนโต๊ะตามมุมต่าง ๆ ของห้อง ให้เลือกตักทานได้ตามใจชอบ แบบเดียว กับค๊อกเทล เพียงแต่อาหารจะมีหลากหลายกว่า และหนักท้องกว่า มีตั้งแต่อาหารเรียกน้ำย่อย อาหารหลัก และอาหาร หวาน รวมทั้งผลไม้สด และจะมีโต๊ะ อาหารให้แขกได้นั่งรับประทานเป็นเรื่องเป็นราวครบคน โดยอาจจะระบุโต๊ะอาหาร ให้แขก กลุ่มเดียวกันได้นั่งด้วยกัน ปกติบุฟเฟ่ต์จะ เริ่มประมาณ 18.30 น.

3. โต๊ะจีน

เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากพอสมควร สำหรับงานเลี้ยงฉลองแต่งงานและโอกาสทั่วไป การบริการ อาหาร มีลักษณะ คล้ายแบบครอบครัวเพราะอาหารทุกอย่างจะยกมาจากครัวโดยปรุงและจัดแต่งมาเรียบร้อย และจัดใส่จานที่มี ขนาดใหญ่ ซึ่งไม่สามารถส่งต่อให้ กันบนโต๊ะได้จึงต้องวางไว้กลางโต๊ะ ให้ผู้รับประทานบริการตัวเอง หรือช่วยตักแบ่งกันเองบนโต๊ะ บรรยากาศงานเลี้ยงแบบโต๊ะจีนจึงเหมาะแก่การจับกลุ่มชุมนุมสังสรรค์กันที่โต๊ะแบบคนสนิท

วางแผนจัดงานเลี้ยงต้องคิดถึงอะไรบ้าง

ถ้าเป็นการจัดเลี้ยง ในหน่วยงานราชการ องค์กร หรือบริษัทห้างร้านต่างๆ คงจะมอบหมาย ให้ผู้ที่เชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์รับผิดชอบกันไป ซึ่งในระยะหลังๆได้มีธุรกิจรับจัดงานเลี้ยงเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งอำนวยความสะดวก ให้กับผู้ที่ต้องการจัดงานเลี้ยง ได้เป็นอย่างมาก เช่น ร้านอาหาร ห้องอาหาร หรือโรงแรมต่างๆ ก็มีแพคเก็จจัดเลี้ยง ออกมาให้เลือกหลากหลาย
แต่ถ้าเราอยากจัดเลี้ยงเองขึ้นมาในบ้าน เพื่อเลี้ยงสังสรรค์ ในบรรดาหมู่ญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูง การจะจัดงานเลี้ยง ก็เป็นงานที่ต้องมีการคิดวางแผนและการเตรียมการอยู่ไม่ใช่น้อยเลยค่ะ มาดูกันว่ามีอะไรบ้างนะคะ

1.จำนวนผู้ร่วมงาน

การทราบจำนวนผู้มาร่วมงานที่แน่นอนยังช่วยให้เจ้าภาพลือกโต๊ะและเมนูอาหารที่เหมาะสมกับจำนวนแขก ไม่ต้องวิ่งหาอาหารมาเพิ่มให้วุ่นวาย และไม่ต้องเหลือเก็บกลับบ้านให้เสียดาย และยังช่วยลดปัญหาเรื่องที่จอดรถไม่พอได้ด้วย

2. งบประมาณในกระเป๋า

ต้องทราบตัวเลขแน่นอนที่ท่านจะจ่ายได้ เพราะจะได้คุมทุกอย่างให้อยู่ในงบได้

3. สถานที่จัดงาน

เมื่อเราทราบจำนวนคนที่จะมาร่วมงานคร่าวๆแล้ว เราก็มาเริ่มนึกว่า ควรจะใช้สถานที่ส่วนไหนในการจัด จะเป็นที่สนามหน้าบ้าน หรือที่ห้องรับแขก หรือใช้บริการนอกสถานที่ เช่น ห้องอาหาร หรือโรงแรม ไปเลย ซึ่งจะเกี่ยวพันไปถึงเรื่องการตกแต่งสถานที่

4.เวลาจัดงานเลี้ยง

วันไหน เวลาไหน ควรกำหนดให้ชัดเจนเพื่อจะได้บอกแขกได้ล่วงหน้า บางงานอาจจะมีการ์ดเชิญงานเลี้ยงด้วย

5.อาหารงานเลี้ยงและเครื่องดื่ม

การจัดงานเลี้ยงสำคัญที่เรื่องของอาหารและเครื่องดื่ม ต้องพยายามนึกถึงใจแขกที่มาร่วมงาน ทั้งจำนวน เพศ และวัยของแขก ตัวอย่างเช่น ถ้าแขกที่มาในงานมีเด็ก และผู้สูงอายุอยู่ด้วย ก็อย่าลืมเผื่อเมนูอาหารสำหรับเด็กหรือผู้สูงอายุไว้ด้วย นอกจากนั้นถ้างานจัดในระยะเวลายาวๆ อาจจะมีอาหารสำรองไว้เผื่อเติม บางครั้งค่าเครื่องดื่มอาจจะมากกว่าค่าอาหารซะอีก

6.อุปกรณ์ทำอาหาร

หากทำอาหารเอง ก็อย่าลืมสำรวจดูให้แน่ใจด้วยว่า มีขนาดครัวและอุปกรณ์ทำครัว เพียงพอ สำหรับทำอาหาร เลี้ยงคนจำนวนมาก อย่างน้อยก็เท่ากับ แขกที่เราเชิญมาในงาน ถ้าสำรวจดูแล้ว คิดว่า หม้อ กระทะ ตะหลิว ทัพพี กะละมัง มีด เขียง และอื่นๆ อาจจะไม่พอใช้ อาจต้องเตรียมขอหยิบยืมมาแต่เนิ่นๆ

7. โต๊ะอาหารและเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร

โดยเฉพาะบ้านที่โดยปกติมีสมาชิกน้อยคน อาจต้องเตรียมจัดหามาเพิ่ม หรือจะหยิบยืมมาหรือจะจัดเป็นจานชาม กระดาษมาเสริม บางครั้งเราอาจมี จานชามสำรองอยู่ แต่นานๆใช้ทีก็อย่าลืมเตรียมนำออกมาล้าง ทำความสะอาดให้พร้อมใช้งาน แล้วก็อย่าลืมของใช้จุกจิก บนโต๊ะอาหาร อย่างเช่น กระดาษทิชชู่ หรือไม้จิ้มฟัน

8.กิจกรรมในงาน

ต้องใช้เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อะไรเป็นพิเศษหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น มีวงดนตรี หรือถ้าจะจัดให้มี การร้องคาราโอเกะ ก็ควรจะมีโทรทัศน์ เครื่องเสียง ไมค์ แผ่นคาราโอเกะ เป็นต้น

9.การตกแต่งสถานที่ กิจกรรม

ขึ้นอยู่กับงบประมาณ และรูปแบบของงาน รวมถึง เพลงงานเลี้ยงด้วย

10. แบ่งงานกันทำ

สมาชิกในบ้าน หรือคนที่จะมาช่วยกันจัดงานมีหลายคน ก็ควรจะนัดแบ่งหน้าที่กระจายงานออกไป ว่าใครจะมีหน้าที่จัดเตรียมและดูแลงานส่วนไหน ใครเตรียมอาหาร ใครดูแลเครื่องดื่ม ใครรับผิดชอบ เรื่องสถานที่ ใครดูแลกิจกรรมในงาน งานเลี้ยงปีใหม่ จะได้เป็นงานแห่งความสุข ไม่รู้สึกเหนื่อยจนเกินไป

เรียบเรียงจาก :
we-mag.com, thaifooddb.com