โรคไซโคพาธ คืออะไร? รักษาอย่างไร? ทดสอบเองได้ไหม?

โรคไซโคพาธ คืออะไร? รักษาอย่างไร? ทดสอบเองได้ไหม?

โรคไซโคพาธ (Psychopaths) คือ บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง

ขาดความสำนึกผิด ใจร้อน อารมณ์ร้าย ขาดความเห็นใจผู้อื่น ไม่เกรงกลัวหรือขาดความยับยั้งชั่งใจที่จะทำผิด ชอบทำผิดกฎหมาย ไม่รู้สึกผิดหรือละอายใจ มีจิตใจที่แข็งกระด้าง ไม่รับผิดชอบต่อปัญหาในชีวิต มองว่าปัญหาเป็นความผิดของคนอื่นเสมอ และมักกระทำความรุนแรงซ้ำ ๆจนก่อให้เกิดอาชญากรรม

สาเหตุอาจมาจากสภาพสังคมรอบตัวที่โหดร้าย ขาดความรัก การถูกเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย การถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ความแตกแยกหรือทะเลาะเบาะแว้งกันในครอบครัว

การรักษาโรคไซโคพาธ

อาจจะต้องปรับปรุงพฤติกรรมให้ดีขึ้น สอนให้รู้จักความรัก ความเมตตา รู้จัก บาป บุณ คุณ โทษ และการให้ยาที่จำเป็น ส่วนการลงโทษมักไม่ได้ผลกับคนที่แข็งกระด้าง

อย่างไรก็ตาม การรักษาแบบ Psychotherapy สามารถช่วยลดอาการได้ในบางกรณี คือ การรักษาทางจิตวิทยาที่ให้โดยนักจิตวิทยา ซึ่งจะช่วยผู้ป่วยในการเข้าใจและจัดการกับปัญหาทางจิตใจหรือปัญหาทางสังคม โดยใช้เครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ เพื่อช่วยผู้ป่วยในการเรียนรู้การจัดการกับอารมณ์ที่ไม่ดี การตัดสินใจ การสร้างความเข้าใจในตัวเองและผู้อื่น การพัฒนาทักษะการสื่อสาร และปรับปรุงคุณภาพชีวิต โดย Psychotherapy สามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น การสนทนาแบบบุคคลต่อบุคคล (One-on-one therapy), การร่วมกิจกรรมที่ต้องใช้การสื่อสาร (Group therapy) และการปรึกษาแบบครอบครัว (Family therapy) เป็นต้น การเลือกใช้วิธีการรักษาแบบไหนนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วยและปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องได้รับการวินิจฉัยและแนะนำจากนักจิตวิทยาเพื่อเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้น การปรึกษาแพทย์ทางจิตเวชเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยและช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

โรคไซโคพาธ แบบทดสอบ

หนึ่งในเครื่องมือที่ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในการประเมินทางจิตเวชของไซโคพาธ คือ เช็คลิสต์ไซโคพาธ Hare Psychopathy Checklist-Revised (PCL-R)  สามารถทดสอบได้ที่ https://www.idrlabs.com/th/psychopathy/test.php